Access Point
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สายนั้นจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต ซึ่งอุปกรณ์ที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
1. Access Point (AP)
2. Wireless Router
3. Wireless Modem Router
แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด พร้อมกันนั้นการติดตั้งก็สะดวกเหมาะกับการใช้งานในตัวอาคารและนอกอาคาร อุปกรณ์ที่นี้คือ Access Point หรือตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต
Access Point คืออะไร
Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ
- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน
ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
โหมดการทำงานของ Access Point (AP)
การใช้งาน AP นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากถ้าเทียบกับอุปกรณ์ไวร์เลสชนิดอื่น ๆ เพราะการใช้งาน AP นั้นไม่ต้องมีการตั้งค่าอะไรมากมาย เพียงเสียบสายแลนและตั้ง IP ให้อยู่วงเดียวกับตัวโมเด็มก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถึงกระนั้นเราก็ควรจะรู้ถึงระบบการทำงานของ AP ว่าสามารถทำงานในโหมดแบบไหนได้บ้าง
1. โหมด Access Point
โหมดนี้เป็นโหมดพื้นฐานที่สุดเพราะถ้าไม่มีการตั้งค่าอะไรเลย AP จะอยู่ในโหมดนี้ สำหรับโหมดนี้เหมาะกับการใช้งานในเครือข่ายไร้สายที่ไม่ใหญ่มากและสามารถตั้งค่าความปลอดภัยได้หลายระดับตั้งแต่ป้องกันด้วยรหัสผ่านบนมาตรฐาน WEP หรือ WPA หรือป้องกันด้วยการกรอง MAC เพื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากนั้น AP บางตัวยังมีความสามารถอื่น ๆที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่านี้อาทิเช่น การแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกัน
2. โหมด Client Bridge
เป็นโหมดที่เปลี่ยน AP เป็นเครื่องรับซึ่งจะทำตัวเองเป็นลูกข่าย มีหน้าที่ในการรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก AP ที่ส่งมาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งระบบนี้จะเน้นในการใช้งานกับ AP ที่อยู่ในระยะไกล หรืออุปกรณ์ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณอินเตอร์เน็ต โหมด Client Bridge จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้
3. โหมด Client Router
เป็นโหมดที่ทำงานคล้ายคลึงกับโหมด Client Bridge อย่างมากเพียงแต่มีข้อแตกต่างที่อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ NAT (Network Address Translation) อุปกรณ์นี้จะมีหน้าที่แปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ พร้อมกันนั้นยังมีการใช้งานฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายได้อีกด้วย
4. โหมด Wireless Router
โหมดนี้เราสามารถแปลง AP ให้มีการทำงานเหมือนกับ Wireless Router ทุกประการเพียงเราเอาสายแลนเสียบเข้าที่ช่อง WAN ก็จะใช้งานได้เลยทันที
5. โหมด WDS Bridge
เป็นโหมดที่มีการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง AP กับ AP ข้อดีของระบบนี้คือ เมื่อ AP1 ที่ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับ AP2 AP1 ก็จะส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยังเครื่อง AP ตัวที่ 2ด้วยซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการไม่ต้องไปใส่ MAC Address ของผู้ใช้งานกับ AP ทุกตัว
6. โหมด WDS AP
ถ้าใช้งานโหมดนี้ AP จะกลายเป็น Repeater หรือการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนจะส่งสัญญาณไปยังเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ แต่ข้อเสียของโหมดนี้ก็คือ การเพิ่ม AP ที่มีหน้าที่เป็น Repeater มากขึ้นเท่าไรความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะช้าลงตามไปด้วยเช่นกัน
7. โหมด Universal Repeater
จะทำงานคล้ายกับโหมด WDS AP แต่แตกต่างกันที่โหมด Universal Repeater สามารถเชื่อมต่อกับ AP ตัวไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีและสามารถขยายสัญญาณไปให้กับเครื่องลูกข่ายได้เลย ซึ่งผิดกับ โหมด WDS AP ที่ต้องเชื่อมต่อและขยายสัญญาณกับ AP ที่ตั้งค่าไว้เท่านั้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้งานโหมด Universal Repeater มากกว่า โหมด WDS AP
ประโยชน์ของ Access Point
ประโยชน์ในการใช้งาน Access Point นั้นก็คือความสะดวกสบายของผู้ใช้งานและผู้ติดตั้ง ซึ่งความสะดวกสบายของผู้ใช้งานนั้นก็คือ เราสามารถนำอุปกรณ์ที่รับสัญญาณ wireless ไปใช้งานตรงไหนก็ได้ที่ AP อยู่โดยไม่ต้องเดินสายแลนไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายอีกด้วย สำหรับความสะดวกสบายของผู้ติดตั้งนั้นก็คือ Access Point นั้นมีการติดตั้งที่ง่ายเพียงเราเลือกโหมดที่ต้องการใช้ตามลักษณะงานที่ไปติดตั้งพร้อมกันนั้นก็ตั้ง IP ให้อยู่ในวงเดียวกันก็สามารถใช้งานกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แล้ว
1. Access Point (AP)
2. Wireless Router
3. Wireless Modem Router
แต่ในบทความนี้เราจะพูดถึงอุปกรณ์กระจายสัญญาณที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด พร้อมกันนั้นการติดตั้งก็สะดวกเหมาะกับการใช้งานในตัวอาคารและนอกอาคาร อุปกรณ์ที่นี้คือ Access Point หรือตัวกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ต
Access Point คืออะไร
Access Point (AP) คืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการกระจายสัญญาณไวร์เลส เป็นอุปกรณ์พื้นฐานตัวหนึ่งที่สามารถสร้างเครือข่ายไร้สายจากระบบเครือข่ายแลน(Lan)ได้ง่ายที่สุด แอคเซสพอยท์ทำหน้าที่กระจายสัญญาณออกไปยังเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในรัศมีการกระจายสัญญาณโดยรอบ ซึ่งลักษณะของตัวแอคเซสพอยท์นั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่กับผู้ผลิตจะดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตาแบบไหน แต่ที่เหมือนกันก็คือ AP จะมีช่องเชียบสายแลนเพียงช่องเดียวเท่านั้น ช่องดังกล่าวจะเป็นช่องที่รับสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือใช้เชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์คจากเครือข่ายแลนเข้ากับเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่อแบบไร้สาย การทำงานของ AP จะทำงานภายใต้มาตรฐานของ IEEE802.11 ซึ่งทำให้อุปกรณ์ที่มีมาตรฐานนี้สามารถใช้งาน AP ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
โดยมากแล้วแอคเซสพอยท์จะมีเสาสัญญาณเพียง 1 เสาเท่านั้นการเลือกซื้อถ้าเราต้องการสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้นเราควรมองหาแอคเซสพอยท์ที่มีมากกว่า 2 เสาขึ้นไปเพื่อให้การกระจายสัญญาณของ AP สามารถกระจายสัญญาณได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งพื้นฐานของ AP นั้นจะมีไฟแสดงสถานะมาตรฐานอยู่ 3 สถานะก็คือ
- ไฟ Power สถานะนี้จะขึ้นแสดงเมื่อมีไฟฟ้ามาเลี้ยงที่ตัว AP ถ้าไฟดวงนี้ไม่ติดเราควรตรวจสอบปลั๊กว่ามีการเสียบปลั๊กดีหรือเปล่า
- ไฟ Link ไฟสถานะนี้จะเป็นไฟแสดงสถานะของสายแลนว่ามีการเชื่อมต่อที่สมบูรณ์หรือเปล่า ถ้าเกิดไฟสถานะ Link ไม่ติดให้ตรวจดูที่สายแลนว่ามีการเชื่อมต่อไว้หรือเปล่าถ้ามีการเชื่อมต่อแล้วก็ต้องไปดูที่ปลายสายว่ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องหรือเปล่าเช่นกัน เพราะถ้ามีการเชื่อมต่อที่ถูกต้องแล้ว ไฟสถานะ Link จะขึ้นโชว์ที่ตัวอุปกรณ์ AP เสมอ
- ไฟสถานะ ACT ไฟดวงนี้จะเป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการส่งข้อมูลผ่านตัวอุปกรณ์ AP ซึ่งเป็นการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องลูกข่ายกับ AP ส่วนมากแล้วจะมีการกระพริบอยู่ตลอดเมื่อมีการใช้งาน
ทั้งนี้ทั้งนั้นไฟสถานะทั้ง 3 สถานะที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้นเป็นเพียงไฟสถานะเบื้องต้นเท่านั้นซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายอาจจะมีการเพิ่มไฟสถานะมากกว่า 3 สถานะนี้ก็ได้ โดยเราสามารถหาดูความหมายของไฟสถานะต่างๆได้จากคู่มือของอุปกรณ์ที่ทางผู้ผลิตได้มีมาให้พร้อมกับตัวอุปกรณ์ AP
โหมดการทำงานของ Access Point (AP)
การใช้งาน AP นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากถ้าเทียบกับอุปกรณ์ไวร์เลสชนิดอื่น ๆ เพราะการใช้งาน AP นั้นไม่ต้องมีการตั้งค่าอะไรมากมาย เพียงเสียบสายแลนและตั้ง IP ให้อยู่วงเดียวกับตัวโมเด็มก็จะสามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถึงกระนั้นเราก็ควรจะรู้ถึงระบบการทำงานของ AP ว่าสามารถทำงานในโหมดแบบไหนได้บ้าง
1. โหมด Access Point
โหมดนี้เป็นโหมดพื้นฐานที่สุดเพราะถ้าไม่มีการตั้งค่าอะไรเลย AP จะอยู่ในโหมดนี้ สำหรับโหมดนี้เหมาะกับการใช้งานในเครือข่ายไร้สายที่ไม่ใหญ่มากและสามารถตั้งค่าความปลอดภัยได้หลายระดับตั้งแต่ป้องกันด้วยรหัสผ่านบนมาตรฐาน WEP หรือ WPA หรือป้องกันด้วยการกรอง MAC เพื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากนั้น AP บางตัวยังมีความสามารถอื่น ๆที่สามารถปรับแต่งได้มากกว่านี้อาทิเช่น การแบ่ง Traffic ของผู้ใช้งานออกจากกัน
2. โหมด Client Bridge
เป็นโหมดที่เปลี่ยน AP เป็นเครื่องรับซึ่งจะทำตัวเองเป็นลูกข่าย มีหน้าที่ในการรับสัญญาณอินเตอร์เน็ตจาก AP ที่ส่งมาอีกทอดหนึ่ง ซึ่งระบบนี้จะเน้นในการใช้งานกับ AP ที่อยู่ในระยะไกล หรืออุปกรณ์ที่ไม่มีตัวรับสัญญาณอินเตอร์เน็ต โหมด Client Bridge จะช่วยเข้ามาแก้ปัญหาตรงนี้ได้
3. โหมด Client Router
เป็นโหมดที่ทำงานคล้ายคลึงกับโหมด Client Bridge อย่างมากเพียงแต่มีข้อแตกต่างที่อุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาคือ NAT (Network Address Translation) อุปกรณ์นี้จะมีหน้าที่แปลง private IP ให้เป็น IP ที่สามารถใช้งานบนระบบอินเตอร์เน็ตได้ พร้อมกันนั้นยังมีการใช้งานฟังก์ชั่น DHCP ที่สามารถแจก IP Address ให้กับเครื่องลูกข่ายได้อีกด้วย
4. โหมด Wireless Router
โหมดนี้เราสามารถแปลง AP ให้มีการทำงานเหมือนกับ Wireless Router ทุกประการเพียงเราเอาสายแลนเสียบเข้าที่ช่อง WAN ก็จะใช้งานได้เลยทันที
5. โหมด WDS Bridge
เป็นโหมดที่มีการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง AP กับ AP ข้อดีของระบบนี้คือ เมื่อ AP1 ที่ส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้กับ AP2 AP1 ก็จะส่งค่า MAC Address ของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดผ่านไปยังเครื่อง AP ตัวที่ 2ด้วยซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่สะดวกมากสำหรับผู้ให้บริการ โดยผู้ให้บริการไม่ต้องไปใส่ MAC Address ของผู้ใช้งานกับ AP ทุกตัว
6. โหมด WDS AP
ถ้าใช้งานโหมดนี้ AP จะกลายเป็น Repeater หรือการขยายสัญญาณให้แรงขึ้นก่อนจะส่งสัญญาณไปยังเครื่องลูกข่ายที่เชื่อมต่ออยู่ แต่ข้อเสียของโหมดนี้ก็คือ การเพิ่ม AP ที่มีหน้าที่เป็น Repeater มากขึ้นเท่าไรความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะช้าลงตามไปด้วยเช่นกัน
7. โหมด Universal Repeater
จะทำงานคล้ายกับโหมด WDS AP แต่แตกต่างกันที่โหมด Universal Repeater สามารถเชื่อมต่อกับ AP ตัวไหนก็ได้ที่อยู่ในรัศมีและสามารถขยายสัญญาณไปให้กับเครื่องลูกข่ายได้เลย ซึ่งผิดกับ โหมด WDS AP ที่ต้องเชื่อมต่อและขยายสัญญาณกับ AP ที่ตั้งค่าไว้เท่านั้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมใช้งานโหมด Universal Repeater มากกว่า โหมด WDS AP
ประโยชน์ของ Access Point
ประโยชน์ในการใช้งาน Access Point นั้นก็คือความสะดวกสบายของผู้ใช้งานและผู้ติดตั้ง ซึ่งความสะดวกสบายของผู้ใช้งานนั้นก็คือ เราสามารถนำอุปกรณ์ที่รับสัญญาณ wireless ไปใช้งานตรงไหนก็ได้ที่ AP อยู่โดยไม่ต้องเดินสายแลนไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์นั้น ๆ ซึ่งจะช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินสายอีกด้วย สำหรับความสะดวกสบายของผู้ติดตั้งนั้นก็คือ Access Point นั้นมีการติดตั้งที่ง่ายเพียงเราเลือกโหมดที่ต้องการใช้ตามลักษณะงานที่ไปติดตั้งพร้อมกันนั้นก็ตั้ง IP ให้อยู่ในวงเดียวกันก็สามารถใช้งานกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้แล้ว
ที่มา apisit
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น